
ส่วนประกอบของ ROE
จุก : ยังพอจำเรื่องของ ROE ได้ใช่มั้ย ว่ามาจากไหน เอาอะไรคูณอะไรหารอะไร
ดำ : จำได้สิ ROE ก็มาจาก การนำกำไรสุทธิหารด้วยส่วนของเจ้าของเฉลี่ย คูณด้วย 100 ก็จะได้ค่าออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์ แสดงถึงความสามารถในการทำกำไรเทียบกับส่วนของเจ้าของ
จุก : สุดยอดเลยน่ะ แต่เรื่องของ ROE ยังไม่จบ เนื่องจากเราเป็นนักลงทุน เราจึงต้องให้ความสำคัญในเรื่องของ ROE เป็นหลัก เพราะอะไร ก็บอกอยู่แล้วว่า เป็นการแสดงถึงความสามารถในการทำกำไรเทียบกับส่วนของเจ้าของ เราจึงจะลงลึกในเรื่องนี้กันสักหน่อย
ดำ : วันนี้จุกจะสอนอะไรเราต่อเหรอ
จุก : วันนี้เราจะมาดูกันในเรื่องของ “ส่วนประกอบของ ROE” ซึ่ง การวิเคราะห์อัตราส่วนผลตอบแทนจากส่วนของเจ้าของ สามารถแยกส่วนประกอบต่างๆ เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินได้ดังนี้
ดำ : ภาพนี้อธิบายได้ยังไงครับจุก
จุก : มันก็คือ อัตราผลตอบแทนจากส่วนของเจ้าของหรือ ROE จะขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัยเหมือนในภาพไงละ
อย่างแรก
ช่องซ้ายสุด 1. อัตรากำไรสุทธิ ROE จะมากหรือน้อยก็จะขึ้นอยู่ที่ว่ากิจการมีกำไรสุทธิมากน้อยแค่ไหน
ช่องตรงกลาง 2. อัตราส่วนหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม ก็จะแสดงถึงความมีประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์เพื่อสร้างรายได้ กิจการยิ่งมีการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวมมาก พูดง่ายๆ ก็คือ ขายของได้มาก ก็จะทำให้ ROE มากไปด้วย
ช่วงขวาสุด 3. อัตราส่วนสินทรัพย์รวมต่อส่วนของเจ้าของ ก็คือการที่ส่วนของเจ้าของน้อยลง ก็จะแสดงให้เห็นว่า หนี้สินมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ ROE มีค่ามากขึ้น
ดำ : ทำไมพอหนี้สินเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้ ROE เพิ่มมากขึ้นละ แทนที่จะน้อยลง
จุก : ก็การที่มีหนี้สินมากขึ้นนั้นจะทำให้กิจการมีความสามารถกำไรมากขึ้น แต่หนี้สินที่มากขึ้น ทำให้กิจการยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้นไปด้วยน่ะ อันนี้ต้องพิจารณาเรื่องของหนี้สินกันอีกทีว่าเป็นหนี้ประเภทไหน
ดำ : เรายัง งง งง อยู่เลยอ่ะ ช่วยอธิบายเพิ่มเติมอีกได้มั้ย
จุก : งั้นเรามาดูตัวอย่างการพิจารณาค่า ROE กัน เพื่อความเข้าใจมากขึ้น จะยกตัวอย่างสักหนึ่งตัวอย่าง
สมมุติว่ามีบริษัท 2 บริษัท ชื่อว่า บริษัท ขันเจริญ และบริษัท แก้วเจริญ โดยมีข้อมูลดังนี้
บริษัท ขันเจริญ มีหนี้สินเท่ากับส่วนของผู้ถือหุ้น
บริษัท แก้วเจริญ มีหนี้สินมากกว่าส่วนของผู้ถือหุ้น
โดยสมมุติว่าให้ทั้ง 2 บริษัททำธุรกิจเหมือนกัน กำไรสุทธิเท่ากัน แต่แตกต่างกันที่โครงสร้างการทางเงินเท่านั้น โดยมีข้อมูลดังนี้
จากตัวอย่างที่ให้ดู เราจะเห็นว่า บริษัท แก้วเจริญ มีส่วนของผู้ถือหุ้นน้อยกว่า เลยทำให้ได้เปรียบในการคำนวณค่า ROE หรือถ้าจะพูดง่ายๆ ก็คือ บริษัท ขันเจริญ กับ บริษัทแก้วเจริญ ก็มีลักษณะธุรกิจคล้ายๆ กัน แต่บริษัท แก้วเจริญ เจ้าของลงทุนน้อยกว่าโดยอาศัยการกู้เงินซะเป็นส่วนใหญ่ เมื่อคิดเป็นผลตอบแทนของผู้ถือหุ้น จึงมากกว่านั่นเอง
ดำ : แจ่มแจ้งเลยจุก… สรุปแบบนี้ได้ป่ะ บริษัทที่มีค่า ROE สูงๆ อาจเกิดจากการมีสัดส่วนหนี้สินสูง ซึ้งหนี้สินที่สูงก็จะสะท้อนถึงความเสี่ยงของกิจการอีกด้วย แต่หนี้ก็มีทั้งประเภทที่ดีและหนี้ที่ไม่ดี
จุก : ใช่แล้วดำ.. ดังนั้นการเลือกหุ้นที่ ROE สูงๆ ไว้ก่อน โดยไม่ดูโครงสร้างทางการเงินไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นเราจึงต้องศึกษาข้อมูลให้ครอบคลุมซะก่อน ศึกษาให้เข้าใจดีดีก่อนตัดสินใจ
ดำ : โอเค… ขอบคุณมากนะจุก ถ้าไม่ได้จุกคอยบอกเราเนี้ยน่ะแย่เลย
จุก : ไม่เป็นไรจร้า